IV Sedation คืออะไร ข้อดีของการได้รับยาระงับความรู้สึกมีอะไรบ้าง

การให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำหรือ IV Sedation คือ การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อกดประสาท ยาจะช่วยลดความวิตกกังวลระหว่างการรักษาทางทันตกรรม ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและสงบ แต่ยังคงรู้สึกตัว ซึ่งในกระบวนการการรักษาทางทันตกรรมจะมีทีมวิสัญญีแพทย์เข้าร่วมกระบวนการในการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำด้วย

ประโยชน์/ข้อดี ของการได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ

  • เมื่อเปรียบเทียบการรับประทาน  ยาระงับความรู้สึกกับการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดำสามารถทำได้เร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่า โดยสามารถควบคุมและปรับขนาดยาได้ง่าย
  • การให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำจะไม่ส่งผลต่อกระทบต่อร่างกายของผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถหายใจเองหรือเคลื่อนไหวร่างกายได้ด้วยตัวเอง ยาระงับความรู้สึก คลายกังวลจะช่วยลดความเจ็บปวด และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมึนงง วิสัญญีแพทย์ย์สามารถระบุความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายขึ้นสำหรับการตอบสนองที่รวดเร็ว
  • ไม่เหมือนกับการดมยาสลบที่ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัว ทันตแพทย์สามารถทำหัตถการได้หลากหลายขณะที่ลดความกลัวหรือความวิตกกังวลเกี่ยวกับการรักษาทางทันตกรรม
  • นอกจากนี้ยังมีผลข้างเคียงน้อยกว่าเมื่อเทียบกับหลังการดมยาสลบ
ฟันคุด

ผู้ป่วยสามารถลดความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนได้โดยการตรวจสุขภาพร่างกายเบื้องต้นเพื่อประเมินรูปแบบของการให้ยาระงับความรู้สึกในแต่ละประเภทอย่างเหมาะสมในแต่ละบุคคลได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด

จากการศึกษาพบว่าการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำสำหรับการรักษาทางทันตกรรมด้วยยาลดความวิตกกังวล และบรรเทาอาการปวดเฉียบพลันระดับปานกลางถึงรุนแรง ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จโดยไม่มีส่งผลกระทบในระยะยาวและมีความปลอดภัย

ขั้นตอนการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ

ขั้นตอนการทำหัตถการทันตกรรมภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึก ปฏิบัติตามหลัก American Society of Anesthesiologist (ASA) สำหรับกรณีผู้ป่วยทำทันตกรรมภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกได้รับการดูแลโดยทีมวิสัญญีแพทย์และพยาบาลที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกกรณีเกิดเหตุวิกฤตฉุกเฉิน

1. การประเมินและการเตรียมตัวก่อนการให้ยาระงับความรู้สึก

ก่อนที่จะให้ยาระงับความรู้สึก ทันตแพทย์จะประเมินถีงความจำเป็นของผู้ป่วยหรือต้องการที่จะได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ และจะได้พบกับวิสัญญีแพทย์เพื่อรับการตรวจประเมินสุขภาพทั่วไป

เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเหมาะกับการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำได้หรือไม่ รวมทั้งมีการตรวจทางห้องเปฏิบัติการและผลการตรวจมีปกติตามเกณฑ์ที่สามารถให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำได้ 

ศูนย์รากฟันเทียม

2. การเตรียมตัวผู้ป่วย

ก่อนวันเข้ารับการรักษาทางทันตกรรม แพทย์จะให้ผู้ป่วยงดรับประทานอาหารหรือยาบางชนิด และควรมีผู้ดูแลหลังจากได้รับยาระงับความรู้สึก ยาคลายกังวลภายหลังทำการรักษาใน 24 ชั่วโมงแรก

ในวันนัด ก่อนเริ่มการรักษาทางทันตกรรมคุณจะได้พบกับวิสัญญีแพทย์ ซึ่งจะพูดคุยและอธิบายเกี่ยวกับขั้นตอนการให้ระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ โดยมีการเฝ้าสังเกตอาการของผู้ป่วยตลอดเวลาในการทำหัตถการ โดยวิสัญญีแพทย์และพยาบาล 

IV Sedation คือ
กังวล ทำฟัน

3. การดูแลขณะได้รับยาระงับความรู้สึก คลายกังวล ทางหลอดเลือดดำ

เมื่อทันตแพทย์พร้อม วิสัญญีแพทย์จะทำการคำนวณปริมาณยาที่จะให้ทางหลอดเลือดดำสำหรับผู้ป่วย วิสัญญีแพทย์และพยาบาลจะประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยดูความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด  อัตราการหายใจ  ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจ ระหว่างขั้นตอนการรักษาทางทันตกรรมทั้งหมด

4. การดูแลหลังการผ่าตัดและหลังการได้รับยาระงับความรู้สึก

หลังจากการรักษาทางทันตกรรมเสร็จสมบูรณ์ วิสัญญีแพทย์จะมีการประเมินระดับความรู้สึกตัว มีการรับรู้ปกติที่สามารถให้ผู้ป่วยกลับบ้านได้ โดยผู้ป่วยอาจถูกย้ายไปสังเกตอาการต่อที่ห้องพักฟื้นเพื่อให้ปลอดภัยก่อนกลับบ้าน เมื่ออาการผู้ป่วยปกติคงที่ มีสติสัมปชัญญะเพียงพอวิสัญญีแพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้านพร้อมกับญาติได้

การพักฟื้นหลังการให้ยาระงับความรู้สึก

Q : ต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำหมดฤทธิ์ออกจากร่างกาย?

A : คนส่วนใหญ่รู้สึกดีหลังการรักษาและเมื่อได้รับยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ บางครั้งอาจใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมงเพื่อให้ยาหมดฤทธฺ์ออกจากร่างกาย ดังนั้นแนะนำให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอหลังจากได้รับยาระงับความรู้สึกหลังทำทันตกรรม

ผลข้างเคียงของการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลืออดำคืออะไร?

การให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำคือ การได้รับยาที่กดการหายใจมากกว่ายาระงับความรู้สึกทางปาก แต่เบากว่าการดมยาสลบ ผลข้างเคียงของการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ คือ :

  • ง่วงซึมและง่วงนอน
  • ปากแห้ง
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • น้ำตาไหล
  • ปวดศีรษะ
  • การสูญเสียความทรงจำบางส่วนหรือทั้งหมดอาจเกิดขึ้นเป็นเวลาหลายชั่วโมงหลังการระงับความรู้สึก

แหล่งที่มา : Complications associated with intravenous; by Saiso, Adnonla,Munsil, Apipan,Rummasak and Wongsirichat, NCIB

ค่าใช้จ่ายในการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีศูนย์ทันตกรรมภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึก ค่าใช้จ่ายในการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำจะคิดเป็นรายชั่วโมง โดยมีแพคเกจการให้ยาระงับความรู้สึก ทางหลอดเลือดดำรวมค่าวิสัญญีแพทย์ สำหรับการฉีดยาทางหลอดเลือดดำและมีการสังเกตอาการขณะทำในห้องหัตถการ ค่าพยาบาลสำหรับการสังเกตอาการ ประเมินสัญญาณชีพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน

ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องซึ่งอาจไม่รวมอยู่ในแพ็คเกจการให้ยาระงับความรู้สึก โดยมีค่าธรรมเนียมของวิสัญญีแพทย์สำหรับการฉีดยาทางหลอดเลือดดำเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดเพิ่มเติม ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทางภาวะสุขภาพจากการการประเมินความเสี่ยงตามแนวทางของ American Society of Anesthesiologists (ASA)  เช่นผู้ป่วยมีโรคประจำตัวที่ควบคุมได้ดี ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น

คลินิกทันตกรรม BIDH ทำฟันโดยไร้ความเจ็บปวด

ทำไมคุณควรเลือกทำทันตกรรมโดยใช้ยาระงับความรู้สึกกับโรงพยาบาล BIDH?

มาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล

บริการทำฟัน BIDH

ทันตกรรมโดยการใช้ยาระงับความรู้สึกของโรงพยาบาล BIDH มั่นใจได้ในความปลอดภัยของผู้ป่วย เนื่องจากโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐานในเรื่องของการทำปราศจากเชื้อและการรักษาจึงเด่นกว่าคลินิกทันตกรรมทั่วไป เราปฏิบัติตามเป้าหมายด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ยึดมาตรฐานในระดับสากลและเรามีทีมงานคุณภาพที่จัดการฝึกอบรมและตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัดการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยของเราได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

การดมยาสลบโรงพยาบาลเรายึดขั้นตอนหรือกระบวนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับการรักษาที่ปลอดภัย มีมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ให้บริการทางการแพทย์และมีคุณสมบัติตามใบอนุญาตที่ถูกต้อง

วิสัญญีแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีความภาคภูมิใจเนื่องจากเรามีทีมทันตกรรมชั้นนำ ทันตแพทย์ แพทย์และพยาบาลที่มีใบอนุญาตและมีประสบการณ์เชี่ยวชาญ วิสัญญีแพทย์ของเราได้รับใบอนุญาตและพยาบาลวิชาชีพสามารถให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินได้

ศัลยแพทย์ทางช่องปากและทันตแพทย์ทางด้านรากฟันเทียมของโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ซึ่งหลายท่านเป็นวิทยากรจากต่างประเทศและเป็น วิทยากรในประเทศไทยด้านทันตกรรมในสาขาเฉพาะทาง 

ห้องผ่าตัดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับทันตกรรมและการผ่าตัดช่องปาก

มาตรฐานระดับโรงพยาบาล

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษครบครันสำหรับการทำฟันและการผ่าตัดช่องปาก เราปฏิบัติตามมาตรฐานของโรงพยาบาลในเรื่องความสะอาด การฆ่าเชื้อและมีอุปกรณ์ครบครันสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินโดยพยาบาลที่ผ่านฝึกอบรม ACLS 

ในฐานะโรงพยาบาล  เรามุ่งเน้นในการดูแลรักษาเฉพาะทางด้านทันตกรรม คือความเป็นเลิศด้านทันตกรรม โรงพยาบาล BIDH ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเครือข่ายทันตกรรมที่ใหญ่ที่สุดและได้รับรางวัลของประเทศไทย ที่รวบรวมองค์ความรู้ในภาคทันตกรรมและทรัพยากรชั้นนำเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด

ศูนย์ทันตกรรมแบบครบวงจร

โรงพยาบาลของเรามีการให้บริการด้านการดมยาสลบทางด้านทันตกรรรม ศัลยกรรมทางช่องปาก ศูนย์ฝังรากเทียม ซึ่งรวบรวมอยู่ในโรงพยาบาลแหล่งนี้ พวกเราให้บริการทางทันตกรรมแบบครบวงจร

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีห้องปฏิบัติการทันตกรรมเซรามิกในโรงพยาบาลของเรา ระยะเวลาการรักษาในการรอคอยชิ้นงานหรือในการทำหัตถการใช้ระยะเวลาไม่นาน ในการบูรณะฟันของคุณ ซึ่งสามารถทำชิ้นงานและจัดส่งให้คุณได้โดยไม่ต้องรอคิว ไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางทันตกรรมศัลยกรรม เราบริการผู้ป่วยของเราอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่ความสามารถของเราจะทำได้

เราให้คำปรึกษาฟรี!

สามารถทำการนัดหมายล่วงหน้า เพื่อเข้ามาปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้ยาระงับความรู้สึกในระดับลึก หรือการดมยาสลบ หรือวิธีการแบบอื่นสำหรับการทำทันตกรรมแบบไร้ความเจ็บปวดว่าเหมาะสมกับตนเองหรือไม่

สรุป

ศูนย์ทันตกรรมแบบระงับความรู้สึกโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ให้บริการสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการกลัวการทำฟัน หรือกลัวทันตแพทย์ โดยมีการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ  ซึ่งการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำสามารถให้ประโยชน์ที่หลากหลายเมื่อเทียบกับการให้ยาระงับความรู้สึกทางปากหรือการดมยาสลบ

ทันตแพทย์และวิสัญญีแพทย์จะประเมินก่อนให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ ในห้องหัตถการโดยมีทีมทันตแพทย์  วิสัญญีแพทย์ พยาบาล ขณะที่ผู้ป่วยได้รับยาระงับความรู้สึกจะมีการประเมินสัญญาณชีพตลอดกระบวนการการให้ยา

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH  เป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านช่องปากและทัตกรรมรากฟันเทียมชั้นนำแห่งหนึ่งในประเทศไทย

การให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดี และเหมาะสำหรับการรักษาทางทันตกรรมที่หลากหลายรวมถึงการผ่าตัดในช่องปาก การรักษารากฟันหรือการรักษาปริทันต์ 

วิธีการให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อการตรวจรักษาหรือทำหัตถการทางทันตกรรม

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีศูนย์การให้บริการทางด้านการรักษาและทำหัตถการทางทันตกรรมภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึก /ดมยาสสบ

การระงับความรู้สึกระดับเล็กน้อย 
(Minimal Sedation/ Anxiolysis)

การให้ยาด้วยวิธีรับประทาน เป็นระดับการใช้ยาที่ผู้ป่วยยังสามารถตอบสนองต่อคำสั่งทางวาจาได้ตามปกติอยู่ในภาวะที่ผ่อนคลาย

การระงับความรู้สึกระดับปานกลาง 
(Moderate Sedation /Conscious Sedation)

การฉีดยาระงับความรู้สึกทางทางหลอดเลือดดำเพื่อลดระดับความรู้สึกตัว โดยผู้ป่วยยังคงตอบสนองต่อสิ่งเร้าและคำสั่งได้ดีสั่งทางวาจาอย่างมีความหมาย

การระงับความรู้สึกระดับลึก หรือดมยาสลบ
(Deep Sedation and General Anesthesia)

การใช้ยาลดระดับความรู้สึกตัวโดยผู้ป่วยเริ่มหมดสติไม่สามารถปลุกผู้ป่วยได้ และผู้ป่วยหมดความรับรู้ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ แม้จะก่อใหเ้กิดความเจ็บปวดก็ตาม