การตรวจชิ้นเนื้อ เพื่อวินิจฉัยโรคของถุงน้ำ เนื้องอกที่เกิดขึ้นในช่องปาก

การผ่าตัดส่งชิ้นเนื้อตรวจทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะใช้วิธีใดศัลยแพทย์จะให้เตรียม ชิ้นเนื้อตัวอย่างเผื่อการตรวจชิ้นเนื้อไว้บางส่วนและส่งตรวจกับพยาธิแพทย์ เพื่อป้องกันการความไม่สะดวกต่อการทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อที่จะเกิดขึ้นเพื่อส่งตรวจเพิ่มเติมภายหลังได้

การตัดชิ้นเนื้อในช่องปาก (Oral Biopsy) คืออะไร 

การตรวจชิ้นเนื้อ คือการตัดชิ้นเนื้อออกไปเพื่อทำการส่งตรวจ วินิจฉัยรอยโรคของถุงน้ำ เนื้องอกที่เกิดขึ้นในช่องปาก การตรวจชิ้นเนื้อสามารถตรวจได้ตั้งแต่เริ่มเป็นรอยโรค จนกระทั่งเป็นเนื้องอกหรือเนื้อร้ายที่เรียกว่ามะเร็ง

ศัลยแพทย์ทางด้านช่องปากจะเป็นผู้ทำการตรวจความผิดปกติจากเอ็กซเรย์ในช่องปากของผู้ป่วย และวางแผนการผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ เพื่อให้แน่ใจว่าการตัดชิ้นเนื้อที่เกิดขึ้นในช่องปากได้รับการแก้ไข และเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์โรค หลังจากชิ้นเนื้อได้ถูกส่งตรวจทางพยาธิวิทยา และแสดงผลการวินิจฉัยโรคจากชิ้นเนื้อที่ถูกต้องเพื่อวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

เมื่อไหร่ที่ต้องกาตัดชิ้นเนื้อในช่องปากเพื่อการตรววินิจฉัย 

 อาการที่ต้องระวังที่อาจต้องให้ทันตแพทย์ตรวจประเมิน และวางแผนการรักษาต่อได้แก่ 

  • มีอาการเจ็บ หรือมีรอยโรคใหม่บริเวณเหงือกเป็นเวลานานกว่าสองสัปดาห์และอาการไม่ดีขึ้น โดยปกติจะเป็นรอยปื้นสีขาวหรือสีแดงบนเหงือก
  •  มีก้อนขยายใหญ่ขึ้น เกิดแผลเรื้อรังหรือเกิดการกร่อนขิงเนื้อเยื่อ
  • มีก้อนแข็งหรือเป็นก้อนหนา
  • มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อบุช่องปากอย่างต่อเนื่อง
  • ในระหว่างทันตแพทย์ของคุณอาจทำการตรวจฟันหรือช่องปาก โดยใช้การประเมินทางสายตา ทางกายภาพและการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก ทันตแพทย์อาจจะซักประวัติคุณเกี่ยวกับข้อมูลของเนื้อเยื่อหรือก้อนที่เกิดขึ้น เช่น ประวัติเกี่ยวกับระยะเวลา สาเหตุที่เป็นไปได้และการเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ การตรวจชิ้นเนื้อจะถูกส่งต่อหากทันตแพทย์ของคุณมีข้อสงสัยทางคลินิกว่าเป็นมะเร็ง
  • เมื่อผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาเบื้องต้น โดยทันตแพทย์จะต้องทำการซักประวัติ ตรวจประเมินช่องปากทั้งหมด รวมทั้งการถ่ายภาพรังสีทันตกรรมช่องปากเพื่อประเมินสภาพภาวะช่องปาก และเนื้อ การตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจจะถูกทำเมื่อทันตแพทย์สงสัยผู้ป่วยอาจมีแนวโน้มการเกิดมะเร็งได้

เทคนิคการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาแบ่งออกเป็น

  1. การตัดชิ้นเนื้อออกทั้งหมด (Excisional biopsy) : โดยการตัดเอารอยโรคหรือ ก้อนเนือ้ออกทั้งหมดแล้วส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ใช้ในกรณีที่รอยโรคหรือก้อนเนื้อมีขนาดเล็ก และลักษณะทางคลินกิที่ตรวจพบไม่บ่งบอกว่าเป็นพยาธิ   สภาพชนดิร้ายแรง การตัดออกถือเป็น การรักษาไปเลย
  2. การตัดชิ้นเนื้อออกเฉพาะบางส่วน (Incisional biopsy) : ใช้ในกรณีรอยโรคหรือ ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ ลักษณะทางคลินิกที่ตรวจพบบ่งบอกว่าเป็นพยาธิสภาพชนิดร้ายแรง
  3. การตัดชิ้นเนื้อ แบบแผลเล็กด้วยอุปกรณ์เฉพาะ (Punch biopsy) : เป็นวิธีที่ใช้บ่อยวิธีหนึ่งเนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก โดยทั่วไปมักใช้ขนาดประมาณ 3-4 มิลลิเมตร เพราะเป็นการตัดชิ้นเนื้อด้วยการใช้อุปกรณ์พิเศษ ลักษณะคล้ายปากกาคือปลายเป็นรูทำจากเหล็กคม เพื่อกดเครื่องมือลงตัดบนชิ้นเนื้อที่ต้องการตรวจออกมาและเย็บเพียง 2- 3 เข็ม ประหยัดเวลา ใช้เพียง 10-20 นาที ในการผ่าตัด   
oral biopsy

การตัดชิ้นเนื้อออกทั้งหมด (Excision biopsy)

ใช้ในกรณีที่เนื้องอกมีขนาดเล็กและอยู่ในตำแหน่งตื้น หรือเนื้องอกที่มีความเป็นไปได้ว่าจะเป็นเนื้องอกชนิดไม่ใช่มะเร็ง เมื่อไดรับกำรประเมินจากอาการ หรือจากผลการตรวจทางรังสี การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยนี้บางครั้งก็เป็นการรักษาได้เลยในกรณีที่ผลการตรวจทางพยาธิวิทยาเนื้อเยื่อดังกล่าวไม่ใช่มะเร็ง

การตัดชิ้นเนื้อออกบางส่วน (Incisional biopsy)

ใช้ในกรณีรอยโรคหรือ ก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่เพื่อนำไปตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับรอยโรคนั้น ลักษณะทางคลินิกที่ตรวจพบบ่งบอกว่าเป็นพยาธิสภาพชนิดร้ายแรง มีแนวโน้มอาจรักษาไม่หายและกลับมาเป็นซ้ำ 

การตัดชิ้นเนื้อแบบแผลเล็กด้วยอุปกรณ์เฉพาะ (Punch biopsy)

เป็นวิธีที่ใช้กับบริเวณที่มีขนาดเล็ก เช่นบริเวณด้านขและบริเวณกระพุ้งแก้ม แผลมีขนาดเล็ก โดยทั่วไปมักใช้ขนาดประมาณ 3-4 มิลลิเมตร เพราะเป็นการตัดชิ้นเนื้อด้วยการใช้อุปกรณ์พิเศษ ลักษณะคล้ายปากกาคือปลายเป็นรูทำจากเหล็กคม เพื่อกดเครื่องมือลงตัดบนชิ้นเนื้อที่ต้องการตรวจออกมา และเย็บเพียง 2-3 เข็ม

ข้อมูลอ้างอิงจาก:

  1. Oral biopsies methods and applications by R. J. Liver, P Sloan and M. N. Pemberton; Oral Cancer Foundation 
  2. Oral Soft-Tissue Biopsy: An Overview by Sylvie Louise Avon, DMD, MSc, PhD, FRCD(C); Hagen Klieb, DMD, MSc, FRCD(C); JCDA

การตัดชิ้นเนื้อในช่องปาก และค่าใช้จ่ายในการตัดชิ้นเนื้อออกเพื่อการตรวจวินิจฉัย

ขั้นตอนการตัดชิ้นเนื้อในช่องปาก

หากพบในช่องปากผู้ป่วยมีรอยโรคลักษณะเป็นถุงน้ำหรือสงสัยอาจเป็นมะเร็ง ทันตแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยทำการตัดชิ้นเนื้อบริเวณที่เป็นรอยโรคนั้นๆออกเพื่อส่งตรวจวินิจฉัย สำหรับค่าใช้จ่ายในการตัดชิ้นเนื้อตรวจนั้นขึ้นกับการทำหัตถการการตัดชิ้นเนื้อของศัลยแพทย์ช่องปากดังนี้

  1. การประเมินและการภาพถ่ายเอ็กซเรย์ ข้อมูลและภาพถ่ายทางรังสีจะแสดงให้เห็นบริเวณพื้นที่ที่เป็นรอยโรค
  2. การเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อโดยการตัดชิ้นเนื้อในช่องปาก ผู้ป่วยเข้ารับการรักษากับศัลยแพทย์ทางช่องปาก เพื่อทำการตัดชิ้นเนื้อออก โดยศัลยแพทย์จะทำการฉีดยาชาในบริเวณที่จะทำการตัดนั้น และตัดชิ้นเนื้อออกตัวอย่างชิ้นเนื้อดังกล่าวจะถูกใส่ลงในขวดแช่ฟอร์มารีนไว้ และส่งไปยังห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาทันทีภายในวันนั้น
  3. การรายงานผลชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา พยาธิแพทย์จะเป็นผู้อ่านผลและให้การวินิจฉัยตามเซลล์เนื้อเยื่อที่ส่งและส่งผลรายงานกลับไปยังศัลยแพทย์ช่องปาก หลังจากนั้นศัลยแพทย์จะนัดให้ผู้ป่วยเข้ามารับฟังผลเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
oral dental specialist

การประเมินเบื้องต้น

  1.  ถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทางทันตกรรมแบบพานอรามิค (Panoramic) เพื่อประเมินดูมีตำแหน่งรอยโรค ถุงน้ำเนื้องอก หรือมะเร็งในช่องปากหรือขากรรไกร
  2. ทำการซักประวัติ และรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อพิจารณาและวางแผนให้การรักษาโดยการกำจัดรอยโรคหรือถุงน้ำนั้นออก และทำการตัดชิ้นเนื้อออกเพื่อการวินิจฉัยโรคต่อไป
การตรวจชิ้นเนื้อ

การตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจ

ศัลยแพทย์จะทำการฉีดยาชาในบริเวณที่จะทำการตัด หลังจากนั้นทำการตัดชิ้นเนื้อออกและตัวอย่างชิ้นเนื้อดังกล่าวจะถูกใส่ลงในขวดแช่น้ำยาฟอร์มารีนไว้ และส่งไปยังห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาต่อไป

การตัดชิ้นเนื้อ

รายงานผลการตรวจชิ้นเนื้อ

ทางศูนย์ศัลยกรรมช่องปาก เมื่อได้รับรายงานผลจากห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยาแล้ว พยาบาลจะเป็นผู้ทำการโทรแจ้งกับผู้ป่วยเพื่อทำนัดให้เข้าฟังผลการตรวจชิ้นเนื้อและการวินิจฉัยโรคจากศัลย์แพทย์ช่องปากเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

 การพักฟื้นหลังผ่าตัดชิ้นเนื้อ

  • หลังผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อที่เป็นรอยโรคออกแล้ว โดยปกติจะมีการนัดตรวจติดตามหลังผ่าตัดประมาณ 1 ถึง 2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าแผลผ่าตัดหายดี และเแจ้งผลการตรวจชิ้นเนื้อ โดยทันตแพทยจะอธิบายผลการวินิจฉัยชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจ รวมทั้งร่วมวางแผนการรักษาในขั้นตอนต่อไปกรณีที่ต้องมีการรักษาต่อ
  • โดยปกติศัลยแพทย์จะทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อเพียงเล็กน้อยเท่าที่สามารถจะตัดได้และมั่นใจว่าตัวอย่างชิ้นเนื่อที่ตัดี่ตัดส่งเพียงพอสำหรับการวินิจฉัย กระบวนการหายของแผลผ่าตัดชิ้นเนื้อจะขึ้นกับตำแหน่งที่ตัด ปกติแล้วจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วันถีง 2-3 สัปดาห์ สามารถเย็บแผลด้วทั้งไหมละลายและไม่ละลาย ถ้าหากแผลเย็บด้วยไหมไม่ละลายต้องรอตัดไหมประมาณ 1-2 สัปดาห์หลังแผลติดดีแล้ว  
  •  ควรหลีกเลี่ยงความร้อน อาหารที่มีรสจัดหรือเป็นกรด ระหว่างพักฟื้นจากการผ่าตัดชิ้นเนื้อ แนะนำอาหารอ่อน เย็น หลังจากทำการผ่าตัดชิ้นเนื้อ    
  • ในช่วงวันแรกอย่าเพิ่งบ้วนปาก หรือแปรงฟันถูกบริเวณแผลผ่าตัด เพราะจะทำให้กระบวนหายของแผลช้าลง
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่หนักในช่วง 2-3 วันแรก จนกระทั่งรู้สึกสบายขึ้น

ศูนย์ศัลยกรรมทางช่องปาก BIDH

ทำไมถึงต้องเลือกผ่าฟันคุด ถอนฟัน ปลูกกระดูก ผ่าตัดขากรรไกรกับเรา : โรงพยาบาลฟัน BIDH

เพราะเราคือโรงพยาบาลทันตกรรมเฉพาะทางหลายด้าน (dental hospital) เราทีมทันตแพทย์ที่มีประสบการณ์ยาวนาน (experienced dentists) กับการใช้เทคโนโลยีทางทันตกรรม (dental technology) ที่ทันสมัย และระบบการฝังรากฟันเทียม (dental implant systems) ที่ไม่เป็นสองรองใคร

เราตรวจสอบทันตแพทย์ของเรา ด้วยการรับรองทักษะของอาจารย์ทันตแพทย์ วิทยากร และ อาจารย์ทันตแพทย์จากต่างประเทศ สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัด ของโรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นแนล BIDH ทันตแพทย์ของเรามีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี และหลายท่านจบการศึกษามาจากต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมัน และได้รับใบอนุญาตและได้รับการฝึกฝนอย่างดี

การดมยาสลบ

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษครบครันสำหรับการทำฟันและการผ่าตัดช่องปาก เราปฏิบัติตามมาตรฐานของโรงพยาบาลในเรื่องความสะอาด การฆ่าเชื้อและมีอุปกรณ์ครบครันสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินโดยพยาบาลที่ผ่านฝึกอบรม ACLS

ในฐานะโรงพยาบาล เรามุ่งเน้นในการดูแลรักษาเฉพาะทางด้านทันตกรรม คือความเป็นเลิศด้านทันตกรรม โรงพยาบาล BIDH ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเครือข่ายทันตกรรมที่ใหญ่ที่สุดและได้รับรางวัลของประเทศไทย ที่รวบรวมองค์ความรู้ในภาคทันตกรรมและทรัพยากรชั้นนำเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด

บริการทำฟัน BIDH

ในฐานะโรงพยาบาล เราควบคุมเข้มงวดในการทำปราศจากเชื้อ ป้องกันการติดเชื้อเป็นข้อบังคับพื้นฐานของเรา เราไม่เป็นแค่โรงพยาบาล แต่เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางทางทันกรรม โครงสร้างอาคารของเราได้รับการออกแบบเพื่อให้สอดคล้องกับระบบมาตรฐานต่างๆ เราปฏิบัติตามมาตรฐานระดับนานาชาติ (Joint Commission International :JCI และ International Standard Organization :ISO) โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพBIDH เป็นหนึ่งในโรงพยาบาลเฉพาะทางทางทันตกรรมแห่งแรกในประเทศไทย 

ศูนย์รักษารากฟันเทียม

แผนกทันตกรรมรากฟันเทียมของเราเป็นผู้นำในด้านรากฟันเทียม ศูนย์รากฟันเทียมของเราผ่านการให้การรักษารากฟันเทียมมาแล้วหลายแสนรากฟันเทียม ทั้งรากฟันเทียมเดี่ยวๆไปจนถึงรากฟันเทียมทั้งปาก ได้รับรางวัลผู้ให้บริการรากฟันเทียมจากบริษัทรากฟันเทียมStraumann นอกจากนี้แล้ว ทีมทันตแพทย์รากฟันเทียมของเรายังอยู่ในสมาคมรากฟันเทียมนานาชาติและบางท่านยังเป็นวิทยากรระดับสูงของทางสมาคมด้วย แผนกทันตกรรมรากฟันเทียมของเราอยู่เหนือมาตรฐานระดับโลก โดยผมสำเร็จของการรักษาที่มากกว่าร้อยละ95 ซึ่งเราเลือกใช้รากฟันเทียมที่นำเข้าจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน และสหรัฐอเมริกา ให้การรักษาโดยทันตแพทย์ในราคาที่สมเหตุสมผล

dental OR room

โรงพยาบาลฟัน BIDH เป็นหนึ่งในศูนย์ทันตกรรมไม่กี่แห่ง ที่มีห้องปฏิบัติการทางทันตกรรม (Dental Laboratory) ภายในโรงพยาบาลทันตกรรมของเรา ตั้งอยู่ที่ชั้น 6 พร้อมผลิตชิ้นงานฟันของท่าน โดยใช้เทคโนโลยี CAD/CAM ในการผสมวัสดุแลสร้างชิ้นงานฟันโดยช่างเทคนิคที่มีความชำนาญด้านศิลปะทางทันตกรรม

award oral surgery center

โรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพ BIDH เป็นหนึ่งในกลุ่มเครือข่ายทันตกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ระบบบริหารจัดการและข้อมูลของเราโปร่งใส เครื่อข่ายผู้ให้บริการทางทันตกรรมของเราได้รับรางวัลดีเด่นทั้งศูนย์ทันตกรรมในกรุงเทพ เชียงใหม่และภูเก็ต เราก่อตั้งมานานกว่า10ปี เติบโตจนมาถึงโรงพยาบาลทันตกรรมกรุงเทพ BIDH หมายถึงเรามีห้องปฏิบัตการและวัสดุทางทันตกรรมที่ดีที่สุด และยังรู้วิธีการบริหารจัดการเพื่อช่วยให้ระบบทันตกรรมในกลุ่มของเราก้าวหน้าไปด้วยกัน

รับคำปรึกษาเบื้องต้นฟรี

นัดหมายล่วงหน้าเพื่อวางแผนการรักษากับทันตแพทย์ของเรา ไม่มีข้อผูกมัดใดๆในการเริ่มการรักษา ค้นหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคุณ

สรุป

การตัดชิ้นเนื้อในช่องปากเป็นหัตถการที่มีประโยชน์ในการวินิจฉัยโรคในช่องปาก ซึ่งมีเทคนิคการตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจหลายแบบ จุดสำคัญคือการตัดชิ้นเนื้อตำแหน่งที่เป็นรอยโรค เพื่อส่งเป็นตัวอย่างชิ้นเนื้อในการตรวจและแปลผลทางพยาธิวิทยาต่อไป  

เพื่อให้มั่นใจว่าการตรวจชิ้นเนื้อได้ทำอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานเหมาะสม โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีการจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อเก็บตัวอย่างของผู้ป่วยเฉพาะในแต่ละรายใส่ในภาชนะที่บรรจุฟอร์มารีนเพื่อรักษาสภาพชิ้นเนื้อระหว่างการเก็บ มีการควบคุมอุณหภูมิการขนส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาอย่างปลอดภัย ศัลยแพทย์ช่องปากที่มีประสบการณ์แนะนำให้ผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ในการตัดชิ้นในช่องปากเพื่อการตรวจวินิจฉัย เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยอีกทั้งการตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง

ที่โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH เป็นหนึ่งในศูนย์ศัลยกรรมช่องปากเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย ที่มีทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยแพทย์ช่องปากที่ได้รับการรับรอง และมีคุณวุฒิทางด้านการผ่าตัดชิ้นเนื้อเพื่อการตรวจหามะเร็งในช่องปาก และการตรวจวินิจฉัยให้การรักษาเกี่ยวกับโรคทางช่องปาก อื่นๆด้วย

การผ่าตัดถอนฟัน

  • การผ่าตัดเอาฟันออก
  • การถอนฟันคุด
  • การถอนฟันแบบปกติทั่วไป

การปลูกกระดูก

  • การปลูกกระดูกฐานฟันเพื่อฝังรากเทียม
  • การปลูกกระดูกเพียงเล็กน้อย
  • การปลูกกระดูกจำนวนมาก

รากฟันเทียม

  • ฟันหายไป 1 ตำแหน่ง
  • ฟันหายไปหลายตำแหน่ง ในบริเวณเดียวกันหรือต่างบริเวณกัน
  • ทดแทนฟันทั้งขากรรไกร 

ผ่าตัดขากรรไกร

  • การผ่าตัดกระดูกขากรรไกรร่วมกับการจัดฟัน