ยาระงับความรู้สึก การทำฟันด้วยการดมยาสลบ ศูนย์รากฟันเทียม

เมื่อกล่าวถึงการทำทันตกรรมแบบไร้ความเจ็บปวดโดยปกติจะเกี่ยวข้องกับการจัดการความเจ็บปวดกับการทำหัตถการทางทันตกรรม สำหรับบุคคลที่กลัวการทำทันตกรรมและกลัวการมาพบทันตแพทย์ การทำทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ จะทำให้ผู้ป้วยไม่รู้สึกเจ็บใดๆในขณะทำหัตการและการผ่าตัด ทำให้ผู้ป่วยสามารถทำหัตถการได้หลายๆหัตถการพร้อมกันภายในครั้งเดียวโดยการดมยาสลบ

การดมยาสลบเป็นวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำหรือการสูดดมก๊าชร่วมด้วยซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะที่ไม่รู้สึกตัว ไม่รู้สึกเจ็บใดๆ ทำให้เกิดความผ่อนคลาย ไม่เครียดหรือวิตกกังวล

สารบัญ ยาระงับความรู้สึก การทำฟันด้วยการดมยาสลบ [คลิกอ่านตามหัวข้อ]

เมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยต้องใช้ยาระงับความรู้สึก/ดมยาสลบ

ยาระงับความรู้สึก

การให้ยาระงับความรู้สึกโดยการดมยาสลบ (GA) โดยปกติจะใช้เฉพาะงานศัลยกรรมการผ่าตัดทางทันตกรรมเพื่อการรักษา กรณีนี้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระหว่างการรักษาร่วมกับทันตแพทย์ (ขณะทำหัตถการหรือการผ่าตัด) แนะนำเฉพาะผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงตามเกณฑ์การประเมินของวิสัญญีแพทย์ (ASA) เท่านั้นที่จะสามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างปลอดภัย

ที่ศูนย์ทันตกรรมการให้ยาระงับความรู้สึก โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ผู้ป่วยทุกรายที่ต้องทำการรักษาหรือทำหัตถการ/ผ่าตัดภายใต้การให้ยาระงับความรู้สึกทางหลอดเลือดดำ (IV Sedation) และดมยาสลบ (General Anesthesia) จะต้องผ่านการตรวจคัดกรองและการรักษาโดยวิสัญญีแพทย์ที่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งเป็นผู้ได้รับการฝึกอบรมเป็นพิเศษในด้านการใช้ยาระงับความรู้สึก

การจัดการความเจ็บปวด และเวชศาสตร์การดูแลผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน วิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้ดูแล เฝ้าระวังและติดตามอาการ สัญญาณชีพที่สำคัญของผู้ป่วยตลอดระยะเวลา เช่น ระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนโลหิต ตั้งแต่ก่อนเริ่มกระบวนการดมยาสลบจนสิ้นสุดกระบวนการจนกระทั่งผู้ป่วยตื่นดี สัญญาณชีพปกติและปลอดภัย

ข้อดีของการรักษาทางทันตกรรมภายใต้การดมยาสลบ

pain-free dentistry

การรักษาทันตกรรมด้วยการดมยาสลบ (General anesthesia) เป็นการทำให้ผู้ป่วยหมดสติโดยสมบรูณ์ และไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้า ผู้ป่วยจะไม่มีความเจ็บปวด สามารถทำภายใต้หัตถการระดับง่ายไม่ซับซ้อนจนถึงระดับหัตถการที่มีความยากและซับซ้อนมาก ภายใต้การดูแลของวิสัญญีแพทย์และทันตแพทย์

วัตถุประสงค์ในการรักษาทางทันตกรรมด้วยการดมยาสลบ :

  1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาทางทันตกรรมที่มีปีระสิทธิภาพ และปลอดภัย

  2. เพื่อกำจัดความกลัวและความกังวล

  3. เพื่อลดการเคลื่อนไหวที่ไมไ่ด้ตั้งใจของผู้ป่วยที่มีผลขัดขวางต่อการรักษาทางทันตกรรม

  4. เพื่อช่วยให้ทันตแพทย์รักษาผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการหรือมีโรคประจำตัวที่มีความเสี่ยงหากทำการรักษาทันตกรรมในภาวะปกติ

  5. เพื่อกำจัดความเจ็บปวดของผู้ป่วย

ข้อบ่งชี้ในการทำทันตกรรมด้วยการดมยาสลบ :

  • ผู้ป่วยเด็กเล็ก หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ มีงานทันตกรรมที่ต้องรักษามากหรือมีฟันผุรุนแรง ผู้ป่วยเด็กพิเศษที่ไม่สามารถให้ความร่วมมือในการรักษาปกติได้ หรือมีข้อห้ามทางการแพทย์ในการรักษาทางทันตกรรมในภาวะปกติ

  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถให้การรักษาด้วยยาชาเฉพาะที่ได้ หรือการออกฤทธิ์ของยาชาเฉพาะที่ไม่ดี

  • ผู้ป่วยที่มีความกลัว ความกังวลในการรักษาทันตกรรมอย่างมาก และไม่สามารถให้ความ ร่วมมือในการรักษาได้

  • ผู้ป่วยที่ต้องใชการดมยาสลบเพื่อป้องกันผลกระทบต่อจิตใจ หรือลดความเสี่ยงทางการแพทย์

  • ผู้ป่วยที่ต้องรักษาทางทันตกรรมที่ซับซ้อนและต้องทำทันทีไม่ส่ามารถมารักษาได้หลายครั้ง

ความเสี่ยงของการรักษาทางทันตกรรมด้วยการดมยาสลบ

general anesthesia

ความเสี่ยงของการรักษาทางทันตกรรมด้วยการดมยาสลบ การรักษาทางทันตกรรมด้วยการดมยาสลบมีความปลอดภัยมากสำหรับผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีช่วงอายุที่น้อยกว่า 65 ปี ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีโรคประจำตัวในระดับที่เป็นอันตรายหรือรุนแรง อาจมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการดมยาสลบที่เพิ่มสูงขึ้นได้

การรักษาทันตกรรมด้วยการดมยาสลบเป็นวิธีที่มีความเสี่ยง และควรใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีข้อบ่งชี้ในการรักษา ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  • การกดระบบการหายใจและระบบหัวใจและหลอดเลือดอย่างรุนแรง 
  • ยาสลบมีฤทธิ์กดการหายใจ การได้รับยาสลบปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยเป็นอันตราย
  • มีความเสี่ยงต่อการแพ้ยาสลบ ซึ่งเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์และเป็นอันตราย
  • ส่วนผลกระทบอื่นๆจากการดมยาสลบ ได้แก่ การเจ็บคอจากการใส่ท่อช่วยหายใจ ในขณะทำการดมยาสลบ ทำใหเ้กิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อของช่องปาก หลอดลม ลำคอ นอกจากนั้นอาจพบว่าผู้ป่วยหลังจากฟื้นจากยาสลบแล้วมีอาการคลื่นไส้อาเจียนจากผลไม่พึงประสงค์ของยาสลบบางตัว

ข้อห้ามในการรักษาทางทันตกรรมด้วยการดมยาสลบ

  1. ผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือ และมีงานทันตกรรมที่ต้องทำเพียงเล็กน้อย
  2. ผู้ป่วยที่มีข้อห้ามของการรักษาทางทันตกรรมด้วยการใช้ยาสลบ เช่น โรคของระบบทางเดินหายใจขั้นรุนแรง

การให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อการตรวจรักษาหรือทำหัตถการทางทันตกรรม

เพื่อให้ผู้ป่วยมีสภาพร่างกายและจิตใจที่ปราศจากความกังวล ความเจ็บปวด รู้สึกผ่อนคลาย ไม่คิดมาก ไม่มีความวิตก ไม่มีความตื่นเต้นหรือเครียดต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว

ขั้นตอนการรักษาทางทันตกรรมด้วยการดมยาสลบ

การประเมินและการเตรียมผู้ป่วยก่อนผ่าตัดเพื่อการ ระงับความรู้สึกเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การระงับความรู้สึกเป็นไปได้อย่างราบรื่นปลอดภัย และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนในช่วงก่อน ระหว่างและหลังผ่าตัด

ที่ศูนย์ศัลยกรรมช่องปาก โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ได้ใช้แนวการปฏิบัติการให้การดูแล การเฝ้าระวังผู้ป่วย ตามมาตรฐานของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย และตามมาตรฐานของสมาคมวิสัญญีแพทย์สหรัฐอเมริกา (American Society of Anesthesiologist)

ศูนย์ศัลยกรรมช่องปากของโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีทีมบุคคลากรพร้อม วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมในการให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกตั้งแต่ระดับปานกลางไปจนถึงระดับลึก และการดูแลผู้ป่วยหากเกิดภาวะวิกฤตฉุกเฉิน

1.การประเมินเบื้องต้น และการเตรียมการให้ยาระงับความรู้สึก /ดมยาสลบ

การดมยาสลบ

ก่อนเริ่มกระบวนการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อทำการตรวจรักษาทางทันตกรรม ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความจำเป็น หรือข้อบ่งชี้ในการใช้ยาระงับความรู้สึกแต่ละประเภทอย่างเหมาะสมก่อน หลังจากนั้นผู้ป่วยจะต้องพบกับวิสัญญีแพทย์เพื่อประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้นก่อนการผ่าตัดหรือทำหัตถการ โดยการประมวลข้อมูลจากการซักประวัติ

การตรวจร่างกายและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่นผลตรวจเลือดทั่วไป ภาพฉายรังสีทรวงอก รวมทั้งคลื่นไฟฟ้าหัวใจเป็นต้น วิสัญญีแพทย์จะทำการประเมินและวิเคราะห์สรุปผลการตรวจร่างกายและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งหมด และอื่นๆที่จำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากที่สุดภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกทั้งทางหลอดเลือดดำและหรือการดมยาสลบ 

2.การเตรียมตัวผู้ป่วย

เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

  • ก่อนวันผ่าตัด แพทย์จะสั่งให้ผู้ป่วยงดน้ำงดอาหาร เป็นเวลาอย่างน้อย 6-8ชั่วโมง ก่อนดมยาสลบและทำหัตถการ/ผ่าตัด เพื่อป้องกันการเกิดการสำลักอาหาร
  • แนะนำข้อควรปฏิบัติในการเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด
  • แนะนำให้นำญาติมาด้วยในวันผ่าตัดเพื่อความปลอดภัย ในการช่วยดูแลผู้ป่วยใน 24 แรกหลังเสร็จสิ้นการผ่าตัดจากการได้รับยาระงับความรู้สึก/ยาสลบ และจำหน่ายผู้ป่วยกลับบ้าน  กรณีผู้ป่วยไม่ต้องการนอนพักดูอาการต่อที่โรงพยาบาล
  • ในวันผ่าตัด ผู้ป่วยต้องมาทำการลงทะเบียนที่อาคารโรงพยาบาลชั้น 2 ในส่วนของแผนกผู้ป่วยใน เพื่อเตรียมตัวก่อนการผ่าตัด เช่น การรับประทานยาก่อนเริ่มการผ่าตัด ให้ทำการเปลี่ยนชุดสะอาดเพื่อรอเข้าห้องผ่าตัด และเก็บใช้ส่วนตัวต่างๆไว้ในตู้เก็บของที่โรงพยาบาลจัดไว้ให้  ส่วนของมีค่าอื่นๆแนะนำไม่ให้นำมาด้วย ควรเก็บไว้ที่บ้านเพื่อป้องกันการสูญหาย

3.การเฝ้าระวัง และการดูแลผู้ป่วยระหว่างได้ยาระงับความรู้สึกหรือยาสลบ

ห้องผ่าตัดโรงพยาบาลฟัน

หลังจากผู้ป่วยทำการเปลี่ยนชุดเรียบร้อยแล้ว  ผู้ป่วยจะถูกส่งไปที่ห้องผ่าตัด ซึ่งพบกับทีมวิสัญญีแพทย์และพยาบาล ที่จะเป็นผู้ช่วยเหลือให้การดูแลผู้ป่วยในทุกขั้นตอนระหว่างการผ่าตัด  หลังจากนั้นวิสัญญีแพทย์จะเริ่มทำการให้ยาระงับความรู้สึกระดับกลางหรือระดับลึก ส่วนทันตแพทย์จะเป็นผู้เตรียมทำการผ่าตัด รวมทั้งเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดไว้ให้พร้อมก่อนเริ่มการผ่าตัด/หัตการ  

ในระหว่างให้การระงับความรู้สึก ผู้ป่วยจะได้รับการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยติดตามการการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG), ร้อยละการอิ่มตัว ของออกซิเจนในฮีโมโกลบิน (oxygen saturation) และความดันโลหิต (noninvasive blood pressure) อย่างน้อยทุก ๆ 5 นาที นอกจากนี้ ยังมีการเฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงทางคลินิกด้วย เช่น เสียงหายใจ การปัสสาวะ ระดับการรู้สึกตัว เป็นต้น

4.การดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหรือทำหัตถการทางทันตกรรมด้วยยาระงับความรู้สึก/ดมยาสลบ ขณะพักฟื้นและเตรียมย้ายออกจากบริเวณพักฟื้น

ห้องพักฟื้น โรงพยาบาลฟัน

หลังจากผู้ป่วยรับการผ่าตัดหรือทำหัตถการเสร็จสิ้น ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปที่ห้องพักฟื้น (Post Anesthetic Care Unit : PACU)สำหรับการพักฟื้นเพื่อได้รับการดูแลหลังการผ่าตัดหรือทำหัตถการ ในห้องพักฟื้นผู้ป่วยจะได้รับการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องในเรื่องสัญญาณชีพ สภาวะของออกซิเจนในร่างกาย การหายใจ และระดับความรู้สึกตัว มีการบันทึกข้อมูลดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะย้ายออกจากบริเวณพักฟืนได้ ซึ่งวิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้ประเมินและใช้เกณฑ์ในการประเมินผู้ป่วยในการอนุญาตให้กลับที่พักหรือบ้านได้

ในวันผ่าตัดผู้ป่วยควรมีญาติหรือผู้ดูแลที่เชื่อถือได้พากลับบ้าน และให้การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดภายใน 24 ชั่วโมงแรก และสามารถพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาลได้หากมีภาวะแทรกซ้อนหากไม่มีบุคคลดังกล่าวต้องได้รับคำสั่งจากแพทย์ให้ผู้ป่วยพักดูแลอาการต่อ 1 คืนในโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลจะคำนึงเรื่องความปลอดภัย และการดูแลที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วยทุกราย

การพักฟื้นจากฤทธิ์ของยา

การพักฟื้นจากฤทธิ์ของยาระงับความรู้สึก – ยาสลบ มีอะไรบ้าง?

  • เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการผ่าตัด วิสัญญีแพทย์จะหยุดให้ยาสลบ ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปยังห้องพักฟื้นเพื่อเฝ้าดูอาการต่อไป โดยผู้ป่วยอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นช่วงสั้น ๆ หรือเป็นระยะเวลานานหลายวัน ขึ้นอยู่กับสภาพอาการและดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
  • เมื่อหยุดให้ยาสลบ ผู้ป่วยส่วนมากอาจรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาในห้องผ่าตัดหลังผ่าตัดเสร็จ หรือรู้สึกตัวในห้องพักฟื้นด้วยอาการสะลึมสะลือ อ่อนเพลีย และตื่นมากขึ้นภายใน 2-3 ชั่วโมงแรก หรืออาจมีอาการข้างเคียงอื่น ๆ จนกว่ายาสลบจะหมดฤทธิ์ภายใน 24 ชั่วโมง หรือบางรายอาจใช้ระยะเวลาเป็นสัปดาห์ในการกำจัดยาออกจากร่างกาย ในระหว่างนี้พยาบาลจะคอยดูแลอาการ และให้ผู้ป่วยรับประทานยารักษาผลข้างเคียงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
  • ยาสลบอาจส่งผลกระทบต่อความจำ สมาธิ และปฏิกิริยาตอบสนองต่าง ๆ ของผู้ป่วยชั่วคราวภายใน 1-2 วัน ดังนั้น ผู้ป่วยควรมีผู้คอยดูแลอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุหรืออาการเจ็บป่วยที่เป็นอันตราย
  • เมื่อแพทย์มีความเห็นให้ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพักดูอาการที่โรงพยาบาล และสามารถกลับไปพักรักษาตัวที่บ้านได้ สิ่งที่ผู้ป่วยควรทำ คือ รับประทานยาและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ซักถามเมื่อมีข้อสงสัย และสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณของการเจ็บป่วยที่รุนแรงแล้วปรึกษาหรือกลับมาพบแพทย์ ทั้งนี้ ผู้ป่วยไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือทำสัญญานิติกรรมใด ๆ เป็นเวลา 1-2 วัน หลังการผ่าตัด

กระบวนการบริการการดมยาสลบ

โรงพยาบาลฟัน BIDH มีให้บริการการดมยาสลบ (General Anesthesia – GA) สำหรับผู้ป่วยที่กลัวที่กลัวทำฟันหรือมีความวิตกกังวลกับการรักษาและต้องนอนหลับ

ดูกระบวนการ General Anesthesia Journey (GA) ที่โรงพยาบาลฟัน BIDH

วิดีโอ Sedation Dentistry

ผลข้างเคียงจากการดมยาสลบมีอะไรบ้าง

ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ของการดมยาสลบ มีเพียงเล็กน้อยและชั่วคราวซึ่งผลข้างเคียงอาจรวมถึง :

  • รู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • รู้สึกสับสนมึนงง หรือสูญเสียความทรงจำชั่วคราว แต่มีผู้ป่วยบางรายที่จะสูญเสียความทรงจำไปอย่างถาวร ซึ่งเป็นกรณีที่พบได้น้อยมาก
  • รู้สึกป่วย วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นอาการที่มักเกิดขึ้นในช่วงแรกที่ได้รับยาสลบ แต่อาจเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องไปเป็นวันได้
  • ตัวสั่น หรือรู้สึกหนาวสั่น อาจเกิดขึ้นชั่วขณะ ยาวนานหลายนาที ไปจนหลายชั่วโมง
  • เสียงแหบ คอแห้ง เจ็บคอ เนื่องจากระหว่างผ่าตัดอาจมีการสอดท่อช่วยหายใจผ่านทางปากเข้าไปในลำคอ
  • ปากแห้ง หรือเกิดความเสียหายภายในช่องปากและฟัน เนื่องจากการสอดท่อช่วยหายใจในระหว่างทำการผ่าตัดเช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยที่มีแผล หรือกำลังรักษาช่องปากและฟัน ควรแจ้งให้วิสัญญีทราบเรื่องก่อนเสมอ
  • ปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ เช่น มีความยากลำบากในการปัสสาวะ

ภาวะแทรกซ้อนของยาสลบ 

แม้การใช้ยาสลบจะมีผลข้างเคียง แต่มีผู้ป่วยน้อยรายมากที่จะเผชิญกับภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายได้ โดยภาวะแทรกซ้อนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ

  • ภาวะสับสนทางจิตใจ โดยอาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
  • เกิดการบาดเจ็บที่ฟันหรือลิ้นจากการกระทบกระเทือนของท่อช่วยหายใจ
  • เกิดความเสียหายบริเวณเส้นเสียงที่อยู่ภายในลำคอจากการใช้ท่อช่วยหายใจเช่นกัน ทำให้เกิดอาการเสียงแหบ และเจ็บคอ
  • รู้สึกตัวตื่นขึ้นมาในระหว่างแพทย์กำลังทำการผ่าตัด ซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยมาก เพราะวิสัญญีแพทย์จะคอยดูแลให้ยาสลบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกเจ็บปวดใด ๆ
  • โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) ผู้ป่วยจะมีอาการแพ้ยาสลบอย่างรุนแรง เช่น มีผื่น ตัวบวมหน้าบวม หอบ ความดันโลหิตต่ำ คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปัญหาเกี่ยวกับการหายใจ หายใจติดขัด หายใจไม่ออก
  • เสียชีวิต เป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดแต่มีโอกาสเกิดน้อยมากเพียง 1 ใน 100,000-200,000 รายเท่านั้น ซึ่งอาจเป็นเหตุมาจากภาวะแทรกซ้อนและการเจ็บป่วยอื่น เช่น การติดเชื้อในปอด ภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เส้นเลือดในสมองแตกหรือตีบตัน เป็นต้น

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายจากการใช้ยาสลบ

การใช้ยาสลบเป็นวิธีการที่ค่อนข้างปลอดภัยและเป็นประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเอง ดังนั้น โอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายหลังการใช้ยาสลบจึงขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล อาการป่วยที่เผชิญอยู่ และประเภทของการผ่าตัดมากกว่าการออกฤทธิ์ของยาสลบ อย่างไรก็ตาม การใช้ยาสลบในผู้ป่วยที่มีสุขภาพดีมักจะปลอดภัยกว่าในผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพและผู้ป่วยดังต่อไปนี้

  • ผู้ป่วยสูงวัย
  • ผู้ที่สูบบุหรี่
  • มีประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมาก
  • ผู้ที่มีอาการแพ้ยามีประวัติแพ้ยาสลบ หรือมีประวัติครอบครัวเคยแพ้ยาสลบ
  • ผู้ที่กำลังใช้ยารักษาที่อาจส่งผลให้มีภาวะเลือดออกเพิ่มขึ้น เช่น ยาแอสไพริน
  • มีภาวะความดันโลหิตสูง
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • มีภาวะชัก
  • มีภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ
  • ป่วยด้วยโรคหัวใจ โรคไต หรือโรคปอด
ขอบคุณข้อมูลจาก :

Sources :

  • About General anesthesia, Mayo clinic
  • Anesthesia Risks, American Socieeety of Anesthsiologist, ASAHQ

ราคาค่าใช้จ่ายยาระงับความรู้สึก การดมยาสลบ

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีการให้บริการการการทำหัตถการ การผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ ค่าใช้จ่ายในการดมยาสลบจะคิดเป็นรายชั่วโมงตามแพ็คเกจการดมยาสลบ ซึ่งรวมถึงค่าธรรมเนียมวิสัญญีแพทย์ ค่าพยาบาลห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น(PACU) ค่าห้องผ่าตัด  ค่าบริการโรงพยาบาล และอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐาน

คลินิกทันตกรรม BIDH ทำฟันโดยไร้ความเจ็บปวด

ทำไมคุณควรเลือกทำทันตกรรมโดยใช้ยาระงับความรู้สึกกับโรงพยาบาล BIDH?

มาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วยในโรงพยาบาล

บริการทำฟัน BIDH

ทันตกรรมโดยการใช้ยาระงับความรู้สึกของโรงพยาบาล BIDH มั่นใจได้ในความปลอดภัยของผู้ป่วย เนื่องจากโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH เป็นโรงพยาบาลที่ได้รับใบอนุญาตตามมาตรฐานในเรื่องของการทำปราศจากเชื้อและการรักษาจึงเด่นกว่าคลินิกทันตกรรมทั่วไป เราปฏิบัติตามเป้าหมายด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยที่ยึดมาตรฐานในระดับสากลและเรามีทีมงานคุณภาพที่จัดการฝึกอบรมและตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัดการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเป็นพิเศษ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยของเราได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

การดมยาสลบโรงพยาบาลเรายึดขั้นตอนหรือกระบวนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับการรักษาที่ปลอดภัย มีมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ให้บริการทางการแพทย์และมีคุณสมบัติตามใบอนุญาตที่ถูกต้อง

วิสัญญีแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีความภาคภูมิใจเนื่องจากเรามีทีมทันตกรรมชั้นนำ ทันตแพทย์ แพทย์และพยาบาลที่มีใบอนุญาตและมีประสบการณ์เชี่ยวชาญ วิสัญญีแพทย์ของเราได้รับใบอนุญาตและพยาบาลวิชาชีพสามารถให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินได้

ศัลยแพทย์ทางช่องปากและทันตแพทย์ทางด้านรากฟันเทียมของโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ซึ่งหลายท่านเป็นวิทยากรจากต่างประเทศและเป็น วิทยากรในประเทศไทยด้านทันตกรรมในสาขาเฉพาะทาง 

ห้องผ่าตัดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับทันตกรรมและการผ่าตัดช่องปาก

มาตรฐานระดับโรงพยาบาล

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษครบครันสำหรับการทำฟันและการผ่าตัดช่องปาก เราปฏิบัติตามมาตรฐานของโรงพยาบาลในเรื่องความสะอาด การฆ่าเชื้อและมีอุปกรณ์ครบครันสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินโดยพยาบาลที่ผ่านฝึกอบรม ACLS 

ในฐานะโรงพยาบาล  เรามุ่งเน้นในการดูแลรักษาเฉพาะทางด้านทันตกรรม คือความเป็นเลิศด้านทันตกรรม โรงพยาบาล BIDH ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเครือข่ายทันตกรรมที่ใหญ่ที่สุดและได้รับรางวัลของประเทศไทย ที่รวบรวมองค์ความรู้ในภาคทันตกรรมและทรัพยากรชั้นนำเพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด

ศูนย์ทันตกรรมแบบครบวงจร

โรงพยาบาลของเรามีการให้บริการด้านการดมยาสลบทางด้านทันตกรรรม ศัลยกรรมทางช่องปาก ศูนย์ฝังรากเทียม ซึ่งรวบรวมอยู่ในโรงพยาบาลแหล่งนี้ พวกเราให้บริการทางทันตกรรมแบบครบวงจร

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีห้องปฏิบัติการทันตกรรมเซรามิกในโรงพยาบาลของเรา ระยะเวลาการรักษาในการรอคอยชิ้นงานหรือในการทำหัตถการใช้ระยะเวลาไม่นาน ในการบูรณะฟันของคุณ ซึ่งสามารถทำชิ้นงานและจัดส่งให้คุณได้โดยไม่ต้องรอคิว ไม่ว่าจะเป็นการรักษาทางทันตกรรมศัลยกรรม เราบริการผู้ป่วยของเราอย่างมีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่ความสามารถของเราจะทำได้

เราให้คำปรึกษาฟรี!

สามารถทำการนัดหมายล่วงหน้า เพื่อเข้ามาปรึกษาหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้ยาระงับความรู้สึกในระดับลึก หรือการดมยาสลบ หรือวิธีการแบบอื่นสำหรับการทำทันตกรรมแบบไร้ความเจ็บปวดว่าเหมาะสมกับตนเองหรือไม่

สรุป

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีการออกแบบห้องผ่าตัดแบบเฉพาะที่พร้อมให้บริการสำหรับการทำหัตการ/ทำการผ่าตัดทางทันตกรรมภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึก/ดมยาสลบ ประกอบด้วยทีมบุคคลากรทางการแพทย์ วิสัญญีแพทย์และพยาบาลที่มีประสบการณ์การในการให้การดูแลผู้ป่วยในระยะวิกฤตได้เป็นอย่างดี

ศูนย์รากฟันเทียม BIDH มีการรักษาทางทำทันตกรรสำหรับผู้รับบริการที่มีความกลัวและมีความกังวล ซึ่งสามารถดมยาสลบในการทำหัตถการได้ ศูนย์ทันตกรรมการให้ยาระงับความความรู้สึกของโรงพยาบาลทันตกรรม BIDH ได้ให้บริการรักษากับผู้ป่วยที่มีความกลัวในการมาพบทันตแพทย์ และมีความกลัวในการทำหัตถการทางทันตกรรม โดยวิธีการให้ยาระงับความรู้สึกแบบดมยาสลบ

ก่อนการรักษาทันตกรรมด้วยการดมยาสลบ ผู้ป่วยต้องได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์เพื่อประเมนิภาวะสุขภาพ สัญญาณชีพ ระบบทางเดินหายใจโรคทางระบบที่เกี่ยวข้องทันตแพทย์ต้องขอคำยินยอมจากผู้ป่วยในการรักษาด้วยการดมยาสลบ พร้อมกันนั้นผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัว ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยก่อน ระหว่างและหลังการดมยาสลบให้ผู้ป่วยทราบและเข้าใจ วิสัญญีแพทย์และทันตแพทย์จะมีการพูดคุยถึงประโยชน์และความเสี่ยงของการทำหัตการทางทันตกรรมภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึก/ดมยาสลบกับผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยมั่นใจในแผนการรักษาจากทีมแพทย์และทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาที่เป็นไปตามมาตราฐาน เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุดและเกิดความความปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด 

BIDH โรงพยาบาลทันตกรรม เป็นหนึ่งในศูนย์ศัลยกรรมช่องปากชั้นนำของประเทศไทย การรักษาและทำหัตถการทางทันตกรรมภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึกเหมาะสำหรับการรักษาและทำหัตการทางศัลยกรรมช่องปาก เช่นการถอนฟันฟันหรือผ่าฟันคุดหลายซี่, การฝังรากเทียม,การตัดแต่งและปลูกกระดูก, การผ่าตัดกระดูกขากรรไกร และการตัดชิ้นเนื้อที่ซับซ้อน

วิธีการให้ยาระงับความรู้สึก เพื่อการตรวจรักษาหรือทำหัตถการทางทันตกรรม

โรงพยาบาลทันตกรรม BIDH มีศูนย์การให้บริการทางด้านการรักษาและทำหัตถการทางทันตกรรมภายใต้การใช้ยาระงับความรู้สึก /ดมยาสสบ

การระงับความรู้สึกระดับเล็กน้อย 
(Minimal Sedation/ Anxiolysis)

การให้ยาด้วยวิธีรับประทาน เป็นระดับการใช้ยาที่ผู้ป่วยยังสามารถตอบสนองต่อคำสั่งทางวาจาได้ตามปกติอยู่ในภาวะที่ผ่อนคลาย

การระงับความรู้สึกระดับปานกลาง 
(Moderate Sedation /Conscious Sedation)

การฉีดยาระงับความรู้สึกทางทางหลอดเลือดดำเพื่อลดระดับความรู้สึกตัว โดยผู้ป่วยยังคงตอบสนองต่อสิ่งเร้าและคำสั่งได้ดีสั่งทางวาจาอย่างมีความหมาย

การระงับความรู้สึกระดับลึก หรือดมยาสลบ
(Deep Sedation and General Anesthesia)

การใช้ยาลดระดับความรู้สึกตัวโดยผู้ป่วยเริ่มหมดสติไม่สามารถปลุกผู้ป่วยได้ และผู้ป่วยหมดความรับรู้ไม่สามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าใดๆ แม้จะก่อใหเ้กิดความเจ็บปวดก็ตาม